Categories
Bicycle related Traffic Engineering

จักรยาน และ เลนจักรยาน

จักรยานเป็นพาหนะประเภทแรกที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อเพิ่มความเร็วและระยะทางที่มนุษย์สามารถเดินทางได้ เดิมทีจักรยานได้ถูกคิดค้นขึ้นในราวปี1817 คร้้งแรกที่มีการแสดงจักรยานให้ประชาชนดูคือที่เมืองMannheim จักรยานรุ่นแรกๆนั้นไม่มีก้านขาปั่นหรือเฟืองเหมือนจักรยานในสมัยปัจจุบัน หากแต่มีล้อสองล้อ อานและคันบังคับทิศทาง เวลาขับเคลื่อนก็ใช้แรงขาพลักแล้วก็ยกเท้ามาเก็บไว้ข้างบน เมื่อรถเบาแรงลงก็ออกแรงอีกครั้ง ล้อที่ใช้ก็เป็นล้อเหล็กหรือไม้ ไม่ใช่ล้อยางในปัจจุบัน จักรยานได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหนึ่งเพราะช่วยทุ่นแรง และเมื่อเทียบกับพาหนะในแบบอื่นๆ เช่นม้า ค่าใช้จ่ายในการดูแลของจักรยานนั้นถูกกว่ามาก ทั้งด้วยจักรยานมีความคล่องตัวเหมาะกับการใช้ในตัวเมือง อย่างไรก็ตามการค้นพบและการใช้จักรยานอย่างแพร่หลายไม่ได้ทำให้ รถลากม้าหมดสิ้นไปอย่างไร เพราะจักรยานนั้นเหมาะสมในการใช้เดินทางระยะสั้นๆเท่านั้น เมื่อมีการค้นพบรถยนต์ขึ้นการใช้จักรยานเริ่มลดน้อยเพราะรถยนต์นั้นทุ่นแรงและให้ความสะดวกสบายได้มากกว่า และสามารถเดินทางได้ทั้งใกล้และไกลรวมทั้งสามารถเป็นที่คุ้มกันสภาพอากาศได้



จักรยานรุ่นแรกๆ

ทั้งนี้ทั้งนั้นในช่วงหลังจากที่ปัญหาโลกร้อนและพลังงานที่จะหมดลงเริ่มเป็นที่ประจักรของสังคม กระแสการรณรงค์การใช้จักรยานในตัวเมืองเริ่มมาแรงขึ้นหลังจากหลายๆประเทศมัวหลงไปกับการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถยนต์ ซึ่งจริงๆก็ไม่น่าแปลกใจเพราะการเทคโนโลยีที่เรียกว่ารถยนต์นั้นช่วยทุ่นทั้งเวลาและแรงกายอย่างมากมาย  หากแต่ว่าสิ่งที่เราหลงลืมไปนั้นคือสิ่งที่เราต้องจ่ายเพื่อความสะดวกสบายนี้นอกเหนือจากค่ารถและน้ำมัน สิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไป โรคภัยไข้เจ็บที่ตามมาจากมลพิษที่เกิดขึ้น การขาดการออกกำลังกายรวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมในตัวเมืองที่แย่ลง เพียงเพราะเราต้องการเพิ่มถนนและที่จอดรถให้รถยนต์ ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ยากจะเถึยงว่าคนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่ใช้รถยนต์

หลังจาก ปัจจุบันการใช้จักรยานเริ่มแพร่หลายมาก เทคโนโลยีและการออกแบบใหม่ๆก็เริ่มเกิดขึ้น เลนจักรยานหรือ bike lane ก็เป็นหนึ่งในการออกแบบใหม่ๆ แม้จากการค้นคว้าจะไม่สามารถระบุชัดเจนว่าเลนจักรยานแห่งแรกเกิดขึ้นที่ได้ จุดประสงค์ของการมีเลนจักรยาน คือเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้จักรยานบนท้องถนนโดยการแสดงให้ผู้ขับขี่พาหนะอื่น ตระหนักว่าเส้นทางนี้มีจักรยานใช้อยู่ ข้อดีของการมีเลนจักรยานบนท้องถนนคือ

  • ดึงดูดประชาชนให้มาปั่นจักรยาน โดยเฉพาะนักปั่นมือใหม่ที่ยังไม่ค่อยมั่นใจในฝีมือตนเอง เลนจักรยานจะช่วยให้ความมั่นใจในจุดนี้ แม้ว่าจะมีแง่คิดตรงกันข้ามที่เห็นว่าเส้นเลนจักรยานบนท้องถนนเป็นเพียงเส้นสีที่ให้ความปลอดภัยที่หลอกๆก็ตาม
  • เลนจักรยานช่วยเป็นไกด์ให้เส้นทางจักรยาน
  • จักรยานบนพี้นผิวเดียวกันกับพาหนะอื่น ช่วยลดความเร็วโดยเฉลี่ยบนท้องถนน และอุบัติเหตุ
  • เลนจักรยานช่วยจัดเส้นทางที่ต่อเนื่องให้รถจักรยาน ทำให้มีความสะดวกสบายในการขับขี่

เป็นต้น

ประเภทของเลนจักรยานแบ่งได้กลุ่มใหญ่ด้งนี้คือ

  • เลนจักรยานบนพื้นผิวเดียวกับพาหนะอื่นแบบไม่ตีเส้นความกว้างธรรมดา ความกว้างของถนนเท่ากับถนนธรรมดา เหมาะสำหรับถนนที่มีปริมาณรถน้อย ความเร็วเฉลี่ยต่ำ ถนนไม่กว้างจนเกินไป ไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายใดๆสำหรับเลนจักรยาน
  • เลนจักรยานบนพื้นผิวเดียวกับพาหนะอื่นแบบไม่ตีเส้นแต่เผื่อความกว้างเพื่อจักรยานบนเลนซ้ายสุด
    ข้อดี ถูกที่สุด เหมาะสำหรับถนนที่มีความเร็วต่ำ พื้นผิวจำกัด ข้อเสีย เหมือนถนนทั่วไป
  • เลนจักรยานบนพื้นผิวเดียวกับพาหนะอื่นแบบตีเส้น
    ข้อดี ค่าใช้จ่ายปานกลาง แสดงขอบเขตของจักรยานชัดเจน ต้องระวังการจอดรถทับเส้นทาง ไม่เหมาะสำหรับเลนจักรยานวิ่งสวนทางจราจร หรือถนนที่มีความเร็วและปริมาณรถสูง
  • เลนจักรยานบนพื้นผิวเฉพาะ
    ข้อดี ผู้ใช้จักรยานได้ประโยชน์สูงสุด สามารถออกแบบเพื่อลดพื้นผิวของถนนเพื่อการควบคุมอุปสงค์การใช้รถ ข้อเสีย ราคาแพง และต้องใช้พื้นผิวเวนคืนเพิ่มเติม

อาหารความคิด: การออกแบบเลนจักรยานต้องคำนึงถึง ผู้ใช้ที่จะมาใช้ มากกว่าผู้ใช้ในปัจจุบัน เพราะการมีเลนจักรยานจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการของผู้ใช้ โดยการดึงดูดให้มีผู้มาใช้มากขึ้น

ซื่งประเภทของการออกแบบก็จะแบ่งย่อยออกไปอีกขึ้นอยู่กับ

  • ปริมาณรถบนท้องถนน
  • ความแตกต่างระหว่างความเร็วของรถกับจักรยาน
  • พฤติกรรมการจอดรถบนท้องถนน
  • ปริมาณผู้ใช้จักรยานที่คาด
  • ประเภทของเส้นทางจักรยาน (เช่นเส้นทางการท่องเที่ยว หรือการเดินทางไปทำงาน)

A composite chart of numerous approaches to bicycle facility selection.

กราพแสดงถึงปริมาณของรถ ความเร็วของรถและชนิดของเลนจักรยานที่สมควรใช้ ที่มา: Bicycle Facility Selection: A Comparison of Approaches

และการออกแบบควรจะคำนึงถึง

  1. Safety ความปลอดภัย
  2. Continuity ความต่อเนื่องของเส้นทาง
  3. Consistency ความสม่ำเสมอ ของป้าย เส้น และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ

การออกแบบเลนจักรยานหากออกแบบโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้แล้ว เลนจักรยานที่ควรจะให้ความปลอดภัยกับผู้ขับขี่จักรยานอาจจะเป็นภัยเสียเอง การออกแบบจึงต้องคำนึงถึง node หรือจุดตัดกับถนนเส้นอื่น link หรือ ระยะระหว่างจุดตัด และ parking การจอดรถจักรยาน บทความนี้มีจุดประสงค์เพียงให้ความรู้คร่าวๆ เกี่ยวกับการออกแบบเส้นทางจักรยานเท่านั้น

ข้อมูลเพิ่มเติมในการออกแบบเส้นทางจักรยาน

Sustran resource

Transport for London Design Standard

และ

Cycling Facility Design Guides

CROW (2007), Design Manual For Bicycle Traffic, National Information and Technology Platform for Transport, Infrastructure and Public Space (www.crow.nl); atwww.crow.nl/shop/productDetail.aspx?id=889&category=90.

DfT (2002), Inclusive Mobility A guide to Best Practise on Access to Pedestrian and Transport Infrastructure, UK Department For Transport (www.dft.gov.uk); atwww.dft.gov.uk/pgr/roads/tpm/tal/walking/inclusivemobilityaguidetobes4137.

DfT (2004), Policy, Planning and Design for Walking and Cycling – Local Transport Note 1/04, UK Department For Transport (www.dft.gov.uk); atwww.dft.gov.uk/consultations/archive/2004/ltnwc/ltn104policyplanninganddesig1691.

DfT (2004), Adjacent and Shared Use Facilities for Pedestrians and Cyclists – Local Transport, UK Department for Transport (www.dft.gov.uk); atwww.dft.gov.uk/consultations/archive/2004/ltnwc/ltn204adjacentandsharedusefa1692.

SE (1999), Cycling by Design, Scottish Executive (www.scottishexecutive.gov.uk); atwww.scottishexecutive.gov.uk/library2/cbd/cbd-00.asp.

TA (2005), “The Geometric Design of Pedestrian, Cycle and Equestrian Routes,” Design Manual for Roads and Bridges, Highways Agency (www.standardsforhighways.co.uk); atwww.standardsforhighways.co.uk/dmrb/vol6/section3/ta9005.pdf.

TfL (2005), London Cycling Design Standards – A Guide To The Design Of A Better Cycling, Transport for London (www.tfl.gov.uk); atwww.tfl.gov.uk/businessandpartners/publications/2766.aspx.

ที่มา http://www.vtpi.org/tdm/tdm93.htm

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s