Categories
Traffic Engineering

กทม. – กล้องจับฝ่าไฟแดงอยู่ตรงไหนบ้าง รู้แล้วอย่าเร่ง!

นักซึ่งทั้งหลายคงต้องกดสั่งพิมพ์เลยทันที มีชาวเนตสำรวจและจัดทำตำแหน่งของกล้องจับฝ่าไฟแดงตามแยกต่างๆในกทม

หลายๆคนมองว่า เอ๊ะ!แล้วจะนำมาเผยแพร่ทำไม พวกที่ขับรถซิ่งก็รู้สิว่ากล้องอยู่ตรงไหนบ้าง จะหลีกเลี่ยงกันไปใหญ่ ปัญหาขับรถเร็วหรือฝ่าไฟแดงก็ไม่ถูกแก้ต่อไป
ส่วนตัวแล้วผมว่าถ้าติด ควรจะให้รู้ครับว่าติดตรงไหนบ้าง เพราะจุดประสงค์ของกล้องนี้คือการลดอัตราอุบัติเหตุในแยกนั้นๆ พอคนรู้ว่ามีคนก็เกรงกลัว และเกรงใจ(จ่าเฉย) ไม่กล้าขับฝ่าไฟแดง ในประเทศอังกฤษผมเองก็เคยเห็นกล้องที่ตรวจจับความเร็ว ซึ่งกล้องประเภทนี้จะอยู่ในกล่องมีสีเหลืองสะท้อนแสง ถ้ายังเห็นไม่พอก็สังเกตุได้จากป้ายแจ้งเตือนได้อีกนะครับ ก็นานาจิตัง นะครับ ใครที่อยากดูก็ตรงนี้เลยครับ

ดูตำแหน่งกล้อง จับ ฝ่าไฟแดง ในกรุงเทพ

 Speed camera รื ๊ษ (source: Internet)

Categories
ข่าวตัดมา Bicycle related

ข่าวตัดมา: ทางจักรยาน Creative Economy ของจริง | โอเพ่นออนไลน์

ทางจักรยาน Creative Economy ของจริง | โอเพ่นออนไลน์.

http://onopen.com/vanchaitan/10-01-03/5420

การประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก (UNFCCC) เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อเดือนธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งถูกโฆษณาล่วงหน้าว่าจะเป็นการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ของผู้นำทั่วโลก ที่จะนำไปสู่ข้อตกลงอันสำคัญ ในการจัดการกับสภาวะโลกร้อนก็ได้สิ้นสุดลง ท่ามกลางความผิดหวังของคนทั่วโลก เพราะดูเหมือนต่างฝ่ายจะมาเถียงกันมากกว่ามาเจรจา

บรรดาตัวการสำคัญอย่างจีน อินเดีย บราซิล สหรัฐอเมริกา แค่สัญญาว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  แต่ไม่รับปากว่าจะทำสำเร็จหรือไม่  และประชุมกันใหม่ปีหน้าค่อยมาต่อรองกันใหม่

นี่ขนาดประชุมไปท่ามกลางอากาศวิปริตครั้งใหญ่จากปัญหาโลกร้อน อาทิ หิมะตกหนักทางซีกโลกเหนือ ส่วนซีกโลกใต้ก้อนน้ำแข็งใหญ่ขนาดเกือบเท่าเกาะภูเก็ตที่แตกมาจากแอนตาร์ติ กากำลังลอยมาใกล้ทวีปออสเตรเลียทุกขณะ มนุษย์แต่ละชาติยังคงต่อรองให้ชาติตัวเองได้ผลประโยชน์มากที่สุด

แต่ในท่ามกลางความล้มเหลวของการเจรจา สื่อมวลชนทั่วโลกได้พร้อมใจกันรายงานเรื่องเล็ก ๆ เรื่องหนึ่งที่เป็นก้าวสำคัญในการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างยั่งยืน นั่นคือ ตัวอย่างการใช้จักรยานในกรุงโคเปนเฮเกน

เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์กแห่งนี้กลายเป็นเมืองที่มีผู้ใช้จักรยานมาก ที่สุดในโลก กล่าวคือทุก ๆวันประชากรของกรุงโคเปนเฮเกนราว 40 % หรือประมาณ 4 แสนกว่าคน ขี่จักรยานไปทำงาน เรียนหนังสือ จ่ายกับข้าว  ไปดูหนัง ดูคอนเสิร์ต ฯลฯ

พวกเขาขี่จักรยานเพื่อใช้ในชีวิตจริง ไม่ใช่ขี่เที่ยวเล่นแบบชิว ๆ  ขี่กันจนกลายเป็นชีวิตประจำวันทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ คนทำงาน แม่บ้าน

หลายสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลเดนมาร์กได้สร้างแรงจูงใจให้คนเมืองหันมาใช้รถจักรยานและการขนส่งมวล ชนแทนการใช้รถส่วนตัว  โดยการเก็บภาษีรถยนต์ในราคามหาโหด รวมถึงค่าจอดรถก็แพงไม่แพ้กัน ทำให้คนเดนมาร์กไม่มีกำลังซื้อรถส่วนตัวในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกในการ สร้างระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า และทางจักรยานมากมาย

ความกว้างของถนนบางสายอาจจะแคบกว่าทางจักรยานหรือฟุตบาทด้วยซ้ำ เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญกับทางจักรยานและการเดินเท้ามากกว่าทางรถยนต์

สองสามปีที่ผ่านมา เทศบาลกรุงโคเปนเฮเกนทุ่มเงินเกือบสองพันล้านบาท สร้างทางจักรยานและทำให้การจราจรปลอดภัยมากขึ้นสำหรับคนขี่จักรยาน ซึ่งสร้างแรงจูงใจให้คนเมืองทิ้งรถเก๋งออกมาขี่จักรยานกันมากขึ้น  และบรรดาพนักงานเทศบาลรู้ดีว่า หากวันไหนหิมะตกหนัก ให้เก็บกวาดหิมะบนทางจักรยานก่อนถนน

ทุกวันนี้จึงมีชาวโคเปนเฮเกนเพียงร้อยละ 30 ที่ใช้รถส่วนตัว ที่เหลือใช้ระบบขนส่งมวลชนและจักรยาน และทางเทศบาลกรุงโคเปนเฮเกนอีกห้าปีข้างหน้าจำนวนคนขี่จักรยานจะพุ่งไปร้อย ละ 50

เมื่อปริมาณรถบนถนนน้อยลง การใช้น้ำมันก็ลดลง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ไม่มีปัญหาหงุดหงิดจากรถติด คุณภาพอากาศดีขึ้นทันตา และอุบัติเหตุบนท้องถนนก็ลดลง  คุณภาพชีวิตก็ตามมา

ลองหลับตานึกภาพกรุงเทพมหานครที่มีประชากร 10 ล้านคน รถยนต์ 6 ล้านคัน  หากรัฐบาลตั้งเป้าว่าจะให้คนกรุงประมาณ 10 %  หันมาขี่จักรยาน  โดยการสร้างทางจักรยาน สร้างระบบการจราจรที่ปลอดภัยสำหรับจักรยาน  รับรองว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างแน่นอน

สองสามปีที่ผ่านมา หลังจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากลองสังเกตดู จะเห็นปริมาณคนใช้จักรยานในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นทันตาเห็น  หากลองไปสำรวจร้านขายรถจักรยานมือสองนำเข้าจากญี่ปุ่นที่เคยมีสองสามแห่ง ตอนนี้ผุดกันขึ้นมาราวกับดอกเห็ด  ยอดจำหน่ายรถจักรยานทั้งของในและนอกประเทศเพิ่มขึ้นหลายเท่า

นี่ขนาดกทม. ยังไม่ได้มีมาตรการเรื่องทางจักรยานอย่างจริงจัง  ที่ผ่านมา ดูเหมือนนโยบายเรื่องทางจักรยานของกทม. จะทำเป็น “ของเล่น” หรือ “สร้างภาพ”มากกว่าจะเห็นว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาการจราจร

ผู้เขียนเชื่อว่า คนเมืองจำนวนมากอยากขี่จักรยานไปทำงาน ไปเรียนหนังสือ หากได้หลักประกันว่า ทางจักรยานจะปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

แต่ดูเหมือนรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ไม่เคยสนใจ ทางจักรยาน อย่างจริงจัง ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะเกรงใจบรรดาอุตสาหกรรมรถยนต์ หรือนักการเมืองอาจจะไม่มีวิสัยทัศน์พอ  จักรยานในสายตาของผู้มีอำนาจจึงยังเป็นเพียงการ ขี่เล่น ๆ  ขี่ออกกำลังกาย  ขี่รณรงค์ลดโลกร้อน  มากกว่าการขี่ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน ทางจักรยานในกทม. จึงดูจะเป็นทางพิการ มากกว่าทางที่ใช้งานได้

ทุกวันนี้จักรยานในชีวิตจริงจึงเป็นที่น่ารังเกียจจากทุกฝ่าย จะขี่บนถนน ก็กลัวโดนรถเมล์ไล่บี้ แถมทางจักรยานแถวเกาะรัตนโกสินทร์ก็กลายเป็นที่จอดรถทัวร์ ครั้นจะขี่บนทางเท้า ก็โดนแม่ค้าหาบเร่ยึดครอง แถมที่จอดรถจักรยานหลายแห่ง ก็ถูกรื้อทิ้งเป็นที่ขายของ ครั้นจะหลบไปขี่ในสวนสาธารณะก็ถูกรปภ.ไล่ออกมา

อย่างไรก็ตาม ทางจักรยานกำลังเป็นเทรนด์ หรือกระแสที่มาแรงมากในเมืองหลวงเกือบทุกแห่งในยุโรปและอเมริกา ตั้งแต่นิวยอร์ก ซีแอตเติล ซานฟรานซิสโก ลอนดอน สต็อกโฮล์ม ออสโล เมลเบิร์น ซิดนีย์ และโตเกียว เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยลดปัญหาโลกร้อน ลดการขาดดุลจากการนำเข้าน้ำมัน แก้ปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดด้วย

ล่าสุดชาวนิวยอร์คใช้จักรยานเพิ่มสูงขึ้นถึง 26 % เทศบาลกรุงนิวยอร์คสร้างช่องทางจักรยานเพิ่มขึ้นอีก 300 กว่ากิโลเมตร และได้เปลี่ยนอาคารที่จอดรถให้เป็นสวนสาธารณะ ขณะที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีจำนวนจักรยานพอ ๆกับจำนวนประชากร และได้รับการยกย่องว่ามีทางจักรยานสวยและปลอดภัยที่สุด

ทางจักรยานจึงเป็นเสมือน Creative Economy แนวใหม่ ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของผู้บริหารประเทศ  กล้าผลักดันความคิดใหม่ ๆ ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ และคุณภาพชีวิตของผู้คนโดยรวม

เพียงแต่ว่าบ้านเราคงต้องอาศัยกึ๋นและความกล้าของนักการเมืองด้วย ที่ต้องทำให้ ทางจักรยาน เป็นวาระของชาติ มีนโยบายและงบประมาณชัดเจน โดยไม่ต้องเกรงใจบรรดาอุตสาหกรรมรถยนต์และผู้ผลิตน้ำมันให้มาก  ซึ่งผู้เขียนเชื่อมั่นว่าประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมืออย่างแน่นอน

ทางจักรยาน จึงถือเป็นการ CHANGE ครั้งสำคัญของสังคมไทย เพราะเชื่อขนมกินได้ว่าจะได้รับการต่อต้านจากหลายฝ่ายทำนองว่า ทำไม่สำเร็จหรอก วุ่นวาย มันยากเกินไป

โอบามาร์ก ผู้เพิ่งไปร่วมงานมอเตอร์โชว์เมื่อเร็ว ๆนี้  กล้า ไหมครับ

ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 3 มกราคม 2553

Categories
Bicycle related

“เลิกตดให้กันดมซะที!” – เสียงบ่นจากคนรอบกายในบริบทของการคมนาคม

เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงจะเคยดมกลิ่นผายลมหรือกลิ่นตดของคนอื่น  ไม่ว่าจะเป็นเพราะสถานะการณ์บังคับ,เพราะความคาดไม่ถึง,หรือเพราะเหตุผลอื่นใดอะไรก็ตาม มันคงเป็นประสบการณ์ที่ไม่น่าพึงประสงค์เลยแม้แต่นิดเดียวสำหรับคนเกือบทุกคน (นอกเสียจากคุณจะมีความชอบที่แปลกและแหวกแนวเหนือความคาดเดา!)  แต่จะรังเกียจมันกันอย่างไรก็ตาม การผายลมหรือการตดนั้น เป็นกิจวัตรธรรมดาอย่างหนึ่งของมนุษย์ ตดถือเป็นผลผลิตจากการย่อยสลายและแปรสภาพอาหารให้เป็นพลังงานโดยร่างกาย พลังงานที่ว่านี้ก็นำมาใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อให้เราสามารถคงมีชีวิตอยู่และทำกิจกรรมต่างๆได้ตามความปรารถนา  เชื่อไหมว่าคนเรานั้นโดยเฉลี่ยแล้ว ตดประมาณ10-20ครั้งต่อวัน ตดเล็กตดน้อยเหล่านี้รวมแล้วเป็นปริมาณก๊าซเกือบกว่า 1ลิตรเลยที่เดียวเชียว องค์ประกอบของก้อนตดหนึ่งก้อนหนึ่งนั้นประกอบด้วย ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ออกซิเจน และมีเทนรวมเป็นส่วนใหญ่  ที่แปลกคือ ก๊าซเหล่านี้ล้วนไม่มีกลิ่น! สิ่งที่น่าแแปลกใจต่อมาคือกลิ่นตดที่น่าคลื่นไส้นั้นมาจากก๊าซกำมะถันซึ่งมีปริมาณแค่ 1%ของก้อนตดของเรา! ก๊าซกำมะถันนี้เกิดจากการหมกหมมของอาหารในลำไส้ สังเกตว่าช่วงไหน ระบบขับถ่ายมีปัญหา ถ่ายยากหรืออาหารไม่ย่อย ช่วงนั้นตดเราจะเหม็นมาก เหม็นจนคนตดเองแทบจะเป็นลมเลยที่เดียว



และถ้าหากเราเปรียบเทียบร่างกายมนุษย์กับรถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซด์ที่เราขับขี่แล้ว อาหารที่เรารับประทานกันก็คงไม่ต่างจากน้ำมันที่เราเติมให้รถ และตดของเราก็คงไม่ต่างจากไอเสียของรถที่มันพ่นออกมา ไอเสียของรถยนต์นั้นส่วนประกอบหลักๆของมันคือ ไนโตรเจน,ไอน้ำ และ คาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารที่ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ  (แม้ว่าจะมีการยอมรับอย่างแพร่หลายว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนก็ตาม) สารไอเสียของรถยนต์ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์นั้นเป็นส่วนประกอบรองซึ่งมี  คาร์บอนมอนออกไซด์, ไฮโดรคาร์บอน, ไนโตรเจน ออกไซด์, โอโซน และ ฝุ่นละอองต่างๆ ปริมาณของสารอันตรายเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความสภาพและความสมบูรณ์ของเครื่องยนต์ หากเครื่องยนต์เก่ามีปัญหาและไม่ได้รับการดูแล การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ก็จะไม่สมบูรณ์ทำให้ปริมาณสารอันตรายเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นไปด้วย

ในช่วงที่ผ่านมา ผมใช้จักรยานในการเดินทางในเชียงใหม่ค่อนข้างบ่อยมาก บ่อยจนทำให้ผมเริ่มเกิดความอืมระอาในการดมตดของผู้อื่น ไอเสียและควันดำที่ผลิตโดยรถต่างๆนั้นมีมากโดยเฉพาะในช่วงเร่งด่วน มันมากจนผมแสบทั้งตา จมูกและคอ ทั้งที่ตอนแรกผมตั้งใจว่าจะไม่ใส่หน้ากากกรองอากาศเวลาปั่นจักรยาน เพราะมันเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้จักรยานไม่น่าปั่น(สำหรับคนอื่นที่ยังไม่ได้ปั่น หรือคิดว่าจะปั่น) แต่ผมต้องจำใจซื้อหน้ากากกรองมาใส่เพราะทนแสบคอแสบจมูกไม่ไหว ผมไม่เข้าใจว่าคนขับรถจักรยานยนต์เขาไม่รู้สึกกันบ้างเหรอ หรืออากาศที่เขาหายใจมันเป็นคนละอันกับที่ผมหายใจอยู่?
ผมนึกถึงบทความทางวิชาการที่เคยอ่านในอดีต บทความเหล่านั้นตั้งข้อสังเกตุว่าเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีคนป่วยโรคภูมิแพ้และทางเดินหายใจมากที่สุดในเมืองไทย เมื่ออ่านครั้งแรกผมสงสัยว่าจริงหรือ แต่เมื่อได้สัมผัสเองผมเริ่มไม่แปลกใจ ก็คนเชียงใหม่ตดให้กันดมทั้งเช้าและเย็นอย่างนี้นิครับ จะไม่ให้ป่วยคลื่นเหียนเวียนตดกันได้อย่างไร!

ข่าวทีวีช่อง 3 วันอังคาร ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553 ที่มา http://www.krobkruakao.com

ผมเชื่อว่าไม่ใช่ผมคนเดียวที่อืมระอากับการดมตดของผู้อื่น แต่คงไม่มีใครที่คิดจะแก้ไข คนเชียงใหม่จึงยังทนดมตดกันไป หรือหากจะแก้ไขก็คงเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ และเท่าที่กำลังทรัพย์จะอำนวย การซื้อรถเก๋งแอร์เย็นฉ่ำหรือการซื้อหน้ากากกันพิษมาใส่ก็คงเป็นวิธ๊หนึ่งในหลายๆวิธีในการกั้นตัวเองออกจากกลิ่นตดที่สุดจะทนไหว แต่การแก้ไขอย่างนี้คงจะเป็นการตัดช่องน้อยแต่พอตัว และเป็นเพียงช่องน้อยที่ใช้ได้เพียงชั่วคราว ในเมื่ออากาศที่เราหายใจกันอยู่นั้นล้วนเป็นอากาศที่อยู่ใต้ฟ้าผืนเดียวกันใช่ไหม?
ผมเชื่อว่าอากาศที่สะอาด มีความสำคัญอย่างมากกับชีวิตของคนทุกคนในโลกใบนี้ แต่ผมสงสัยว่าทำไมเราไม่ใส่ใจกับสิ่งสำคัญนี้เลย ทั้งๆที่มันมีผลทั้งกับตัวเราเองและคนที่เรารักโดยตรง การแก้ไขปัญหานี้ผมเชื่อว่าเราสามารถเริ่มด้วยจากตัวเราเองครับ เริ่มด้วยการไม่ตดให้คนอื่นดม โดยการลดการใช้รถลงบ้างเท่าทีอำนวย หันมาใช้จักรยานหรือการเดิน   ลดความเหม็นและขนาดของก้อนตดที่เราผลิตโดยการดูแลเครื่องยนต์และปรับแต่งเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพ ช่วยกันฟอกอากาศฟอกกลิ่นตดของเราโดยการ รณรงค์และผลักดันให้มีการปลูกต้นไม้ในเมืองของเรา ผมเชื่อว่ามาตรการง่ายๆเหล่านี้ เริ่มได้เลยครับ และจะทำให้อากาศของเมืองเชียงใหม่หรือเมืองที่คุณอยู่สะอาดขึ้น ไม่ต้องทนดมตดของกันและกันอยู่อย่างนี้ต่อไปครับ!

Categories
ข่าวตัดมา Bicycle related

มลพิษในเมือง ลดได้ด้วยจักรยาน – มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ปั่นจักรยาน

แม้กรุงเทพมหานครจะไม่ต้องผจญปัญหาเรื่องของฝุ่นควันอย่างพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล อุดมด้วยมลพิษติดลำดับต้นประเทศ

ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลกระบุว่า จังหวัดในประเทศไทย ที่มีระดับมลภาวะทางอากาศสูงสุดคือที่จ.สระบุรี ซึ่งสามารถวัดระดับฝุ่นได้ถึง 59 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามมาด้วยย่านอำเภอพระประแดง ที่ 55 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, กรุงเทพฯ 54 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ที่ 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, จ.ราชบุรี ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ที่ 49 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นอกจากนั้น อ.บางกรวย จ.นนทบุรี, นครราชสีมา, นครสวรรค์, ลำปาง, เชียงใหม่, ระยอง และชลบุรี ก็มีระดับมลภาวะทางอากาศสูงกว่ามาตรฐานเช่นกัน

สาเหตุหลักใหญ่ๆ ของมลพิษทางอากาศ จะมีอยู่ 2 เรื่อง คือ จากยานหาหะนะ และจากโรงงานอุตสาหกรรม

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศจากภาคเกษตรกรรมมาเป็นภาคอุตสาหกรรม ทำให้กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของแหล่งธุรกิจและความเจริญมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความต้องการในการเดินทางและการขนส่งมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดเข้าขั้นวิกฤต และนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การจราจรที่ติดขัดทำให้รถเคลื่อนตัวได้ด้วยความเร็วต่ำ มีการหยุดและออกตัวบ่อยครั้ง ขึ้นน้ำมันถูกเผาผลาญมากขึ้น การสันดาปของน้ำมันเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ การระบายสารมลพิษทางท่อไอเสียในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น

รถยนต์ยิ่งมาก การจราจรยิ่งติดขัด บริเวณที่มีการจราจรติดขัด จะมีปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงกว่าในบริเวณที่มีการจราจรคล่องตัว สารมลพิษที่ระบายเข้าสู่บรรยากาศที่เกิด จากการคมนาคมขนส่ง ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่วและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ล่าสุดจากการรวบรวมสถิติรถที่จดทะเบียนวิ่งตามท้องถนนทั่วประเทศ เฉพาะรถยนต์และรถจักรยานยนต์รวมแล้วกว่า 29 ล้านคัน เป็นยอดรวมเฉพาะในกรุงเทพฯ มากถึง 6.62 ล้านคัน เป็นรถยนต์ 4 ล้านคัน รถจักรยานยนต์ 2.6 ล้านคัน โดยพบว่าทั่วประเทศมีรถจดทะเบียนใหม่เฉพาะรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มวันละ 9,352 คัน

เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ มีเพิ่มมากถึงเฉลี่ยวันละ 2,592 คัน เป็นรถยนต์เฉลี่ยวันละ 1,468 คัน รถจักรยานยนต์เฉลี่ยวันละ 1,124 คัน

อย่างไรก็ดี หนทางการลดมลพิษนั้น ก็ใช่ว่าไม่มี หนทางหนึ่งที่มีการพยายามผลักดันให้เกิดด้วยองค์กร กลุ่มสังคม นอกจากการลดใช้ยานพาหนะ การประหยัด ยังมีอีกวิธี คือ การปั่นจักรยาน

ในเรื่องการคมนาคมเพื่อลดมลพิษ จักรยาน ถูกยกมาเป็นทางเลือกหนึ่งเสมอ แต่ทางเลือกนี้ก็มักตกประเด็นไป เมื่อถึงเวลาผลักดันเป็นวาระ หรือเมื่อลงมือปฏิบัติ

อย่างที่ทราบกันดี แม้จะมีการ “สร้าง” ทางจักรยานขึ้นมาอย่าง “ง่ายๆ” ตามถนนหรือบนฟุตบาทบางเส้น แต่ก็ไม่ได้มีการก่อให้เกิดแรงจูงใจในการอยากออกไปปั่นจักรยานกันมากนัก สาเหตุมาจากอะไร คำตอบที่ชัดเจนของคำถามเห็นจะเป็นเรื่อง “ความปลอดภัย”

เมื่อช่วงเดือนกันยายน 2554 มูลนิธิโลกสีเขียว ได้ทำแบบสำรวจ “คนกรุงเทพฯ อยากได้เลนจักรยานไหม” โดยใช้คำถามมี 4 ข้อ ได้แก่ 1. โดยปกติ คุณใช้พาหนะประเภทใดเดินทางในกรุงเทพฯ มากที่สุด ? 2. คุณเคยขี่จักรยานในกรุงเทพฯ หรือไม่ ? 3. ถ้าสามารถขี่จักรยานในกรุงเทพฯ ได้อย่างปลอดภัย คุณจะขี่ไหม ? 4. ถ้าต้องแบ่งพื้นที่บนถนนมากั้นเป็นเลนจักรยาน คุณจะยอมไหม ?

จากผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น คนที่ใช้ขนส่งมวลชนเป็นพาหนะหลักในการสัญจรร้อยละ 53 คนที่ใช้รถยนต์ส่วนตัว แท็กซี่ หรือมอเตอร์ไซค์ร้อยละ 39  มีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้นที่ปัจจุบันใช้จักรยานเป็นพาหนะหลัก โดยผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด มีถึงร้อยละ 48 ที่ไม่เคยใช้จักรยานมาก่อนในกรุงเทพมหานคร ผลสำรวจออกมาว่า ร้อยละ 86 บอกว่าจะออกมาขี่จักรยานบนท้องถนน หากรู้สึกว่าสามารถขี่ได้อย่างปลอดภัย และร้อยละ 93 ที่ยินยอมให้จัดสรรแบ่งปันพื้นที่จราจรบนถนนมากั้นเป็นเลนให้จักรยาน

ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนวณิชย์ เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว ได้ให้ความเห็นประเด็นความปลอดภัยและสุขภาพที่นักขี่และนักอยากขี่เป็นกังวล (ตีพิมพ์นิตยสาร Way ฉบับที่ 46) ว่า มูลนิธิโลกสีเขียวทำสำรวจความคิดเห็น 4,500 คน ใน 2-3 คำถามหลักๆ เราถามว่า “จะขี่จักรยานไหม ถ้าปลอดภัย” ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์บอกว่าขี่ ถามต่อว่า ถ้าขอแบ่งเลนถนนมากั้นเป็นเลนจักรยาน จะยอมไหม 95 เปอร์เซ็นต์ยอม

“ความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด มากกว่าเรื่องความร้อน ความปลอดภัยในที่นี้หมายถึงกลัวถูกชนถูกเฉี่ยว และกลัวมลพิษ”

เลขาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว ให้ความเห็นต่อว่า “ถ้าดูสถิติทั่วโลก จักรยานเกิดอุบัติเหตุน้อย น้อยกว่าคนเดินแล้วถูกรถชน แต่พอโดนทีมันเป็นข่าวดัง จริงๆ แล้วอุบัติเหตุทั่วไปในโลก ครึ่งหนึ่งเกิดจากความผิดของคนขี่จักรยานเอง ถ้าอยากปลอดภัยก็ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร ต้องสื่อสารให้คนขับรถรู้ว่า จักรยานก็เป็นพาหนะอย่างหนึ่ง มีสิทธิใช้ถนน แล้วพอคนเริ่มรู้ว่ามันมีวิธีขี่อย่างไรบ้าง รู้ว่าจุดที่ไม่ปลอดถัยคืออะไร ก็จะค่อยๆ เกิดความมั่นใจ และความมั่นใจมันจะเป็นตัวเซฟเรา”

นอกจากนี้ ข้อมูลจาก treehugger ระบุว่า จากการศึกษาวิจัยกว่า 14 ปี โดยวิเคราะห์สุขภาพของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30,000 คน พบว่าการปั่นจักรยานไปทำงานนั้นปลอดภัยกว่าวิธีอื่น นั่นหมายถึงว่าผู้ขี่จักรยานต้องขี่อย่างปฏิบัติตามกฎจราจร ซึ่งในเชิงสถิติระบุว่า การปั่นจักรยานไปทำงานช่วยลดโอกาสที่จะเสียชีวิตลงจากอุบัติเหตุได้ร้อยละ 40 และยังประโยชน์ต่อสุภาพอย่างที่ทราบกันดี

เหนือสิ่งอื่นใด การปั่นจักรยานไปทำงานประมาณ 6.5 กิโลเมตรต่อวัน จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 900 กิโลกรัมต่อปี 

ข้อมูลจาก guardian.co.uk ระบุว่า ในทวีปยุโรปจะสามารถลดการสร้างภาวะเรือนกระจกลงได้ถึงร้อยละ 25 หากทุกประเทศหันมาใช้จักรยานให้ได้เท่าชาวเดนมาร์ก โดยอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของนักปั่นคือ 27 กรัมต่อกิโลเมตร ส่วนรถยนต์ 271 กรัม รถบัส 101 กรัม เฉลี่ยต่อผู้โดยสาร 1 คน

ส่วนประเทศไทย จากการคำนวนค่าเฉลี่ยการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ คนในกรุงเทพฯ ปล่อยถึง 7.3 ตันต่อคนต่อปี เทียบเท่ากับคนนิวยอร์ค และสูงกว่าค่าเฉลี่ยชาวโลกที่ปล่อยเพียง 1 ตันต่อคนต่อปี

เมื่อจักรยานถูกยกเป็นทางเลือกหนึ่งของการลดคาร์บอนฯ ลดมลพิษในเมือง แล้วยังไม่ถึงเวลาส่งเสริมกันอย่างจริงจังอีกหรือ ?

มาเปลี่ยนทางเลือกให้เป็นทางหลัก…

หากลังเล จะเริ่มอย่างไร วันที่ 25 ก.พ. มูลนิธิโลกสีเขียว จัดเทศกาลปั่นเมือง ที่อาคารบันเทิง สวนลุมพินี 16.00 – 20.30 น. ร่วมกิจกรรมมากมายเกี่ยวกับการปั่นจักรยาน เผื่อจะได้ไอเดียในการเริ่มปั่น และทำความเข้าใจ…

ปั่นเมือง

มายาคติ เรื่องควันพิษริมถนน
หลายต่อหลายครั้ง คนไม่สูบบุหรี่กับเป็นมะเร็งร้ายแรงกว่าคนสูบบุหรี่ เพราะแม้ไม่สูบ แต่เมื่ออยู่ใกล้กับคนที่สูบ คนไม่สูบก็มีสิทธิรับสารพิษจากบุหรี่จากการสูดดมเข้าไปได้เช่นกัน แล้วหากจะมาปั่นจักรยาน จะป่วยเพราะรับมลพิษบนท้องถนนอย่างเรื่องของคนไม่สูบบุหรี่หรือเปล่า ?

จากการทดสอบโดยทีมวจัยมหาวิทยาลัยดับลิน พบว่า การเดินหรือการปั่นจักรยานเร็วกว่าปกติ อัตราการหายใจและการทำงานของปอดจะสูงขึ้น แต่ปอดจะดูดซับมลพิษไว้น้อยกว่า กล่าวคือ การปั่นจักรยานทำให้ปอดทำงานหนักมาก

นั่นหมายถึงปะสิทธิภาพในการฟอกอากาศเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ทำให้มลพิษถูกขับออกจากร่างกายเราในเวลาอันสั้น

25 ก.พ. 2555 ร่วมปั่นเมืองกับมูลนิธิโลกสีเขียว อ่านรายละเอียด 
ข้อมูล เมืองมลพิษ อ้างอิงจาก มติชนนไลน์ 
ข้อมูล การใช้รถยนต์ในกรุงเทพ อ้างอิงจาก VOICE TV
ภาพประกอบจาก Internet

Categories
ข่าวตัดมา Bicycle related

ทางจักรยาน นโยบายสำคัญของพรรคการเมืองในอนาคต | โอเพ่นออนไลน์

ทางจักรยาน นโยบายสำคัญของพรรคการเมืองในอนาคต

Thu, 21/01/2010 – 14:52 — วันชัย ตัน http://onopen.com/vanchaitan/10-01-21/5418

สองสามปีที่ผ่านมาผมสังเกตว่าในกรุงเทพมหานคร มีคนขี่จักรยานตามท้องถนนกันมากขึ้น

พรรคพวกตามต่างจังหวัดก็เคยเล่าสู่กันฟังว่ามีคนขี่จักรยานเพิ่มขึ้น  ในที่ทำงานของผมเอง มีพนักงานขี่จักรยานจากบ้านมาบริษัทร่วมสิบคน

พนักงานส่งเอกสารคนหนึ่ง เคยขี่รถมอเตอร์ไซค์กลับบ้าน แต่ปัจจุบันจอดรถไว้ที่ทำงานเพราะสู้ราคาน้ำมันไม่ไหว และใช้จักรยานเป็นพาหนะถีบไปเช้าเย็นกลับวันละประมาณ ๓๐ กิโลเมตร บอกกับผมว่าพอเปลี่ยนมาขี่จักรยาน ทุกวันนี้ประหยัดเงินค่าน้ำมันได้เดือนละ ๒-๓ พันบาท

และสิ่งที่ตามมาคือนิสัยเปลี่ยน จากเดิมเป็นคนใจร้อนและเป็นนักซิ่งตัวยง เวลาขับรถจะขับด้วยความเร็วและคิดถึงที่หมายอย่างเดียว ไม่เคยสนใจอะไรรอบ ๆ ข้างเลย แต่พอหันมาถีบจักรยาน สังเกตว่านิสัยใจคอเปลี่ยนไป  กลายเป็นคนใจเย็น เวลาคนข้ามถนนตรงทางม้าลาย ก็จะหยุดให้คนเดินข้ามไปก่อน ทั้งๆที่สมัยก่อนไม่เคยคิดจะทำเวลาถีบจักรยานกลับบ้าน ก็เพิ่งสังเกตเห็นว่าระหว่างทางมีสิ่งเล็ก ๆตามข้างทางให้เห็นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร วัด สวนดอกไม้ จากที่ไม่เคยใส่ใจมาก่อน

ผมจำได้ว่าเมื่อสิบกว่าปีก่อน คนเล่นจักรยานมักนิยมซื้อจักรยานเมดอินเจแปน เพราะมีรูปทรงคลาสสิก วัสดุทนทานแข็งแรง ตอนนั้นมีการนำเข้าจักรยานมือสองจากญี่ปุ่นมาขายในกรุงเทพฯ ราคาประมาณคันละพันกว่าบาท  มีร้านเปิดสองสามร้าน แต่ปัจจุบันมีการนำเข้าจักรยานมือสองจากญี่ปุ่นอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีร้านค้าหลายสิบแห่ง และราคาขึ้นสูงหลายเท่าตัว ในขณะเดียวกันบรรดารถจักรยานมือหนึ่งมียี่ห้อก็มียอดขายสูงขึ้น รวมไปถึงจักรยานเมดอินไทยแลนด์ก็มีออเดอร์ล่วงหน้ากันทุกโรงงาน

คนเหล่านี้อาจจะใส่ใจในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนหันมาขี่จักรยานกันมาก คือค่าน้ำมันมหาโหดจนจ่ายไม่ไหว

คนเหล่านี้ไม่ได้ขี่จักรยานเล่น ๆ แบบขี่จักรยานไปเที่ยวเล่น  แต่พวกเขาขี่จริงจัง ไม่ต่างจากการเดินทางไปทำงานด้วยรถเมล์ หรือรถส่วนตัว

ผมเชื่อว่ายังมีกลุ่มคนจำนวนมากที่อยากจะขี่จักรยานมาทำงาน มาเรียนหนังสือ แต่หลักประกันสำคัญคือ ทางจักรยานที่ปลอดภัย ไม่ต้องบาดเจ็บ หรือตายอย่างโง่ ๆ เพราะถูกรถชน

เนเธอร์แลนด์ได้ชื่อว่าเป็นสวรรค์ของคนขี่จักรยาน เป็นประเทศที่มีจำนวนจักรยานพอ ๆกับจำนวนประชากรคือประมาณ 17 ล้านคัน และแต่ละปีปริมาณรถจักรยานบนท้องถนนก็เพิ่มมากขึ้น  ไปที่ไหนก็มีแต่คนขี่จักรยาน คนที่นั่นอาศัยการเดินทางจากระบบขนส่งมวลชน รถจักรยาน ส่วนรถเก๋งส่วนตัวนั้น เป็นของฟุ่มเฟือย เพราะราคาและภาษีรถแพงมาก

ขณะเดียวกันรัฐบาลก็สร้างทางจักรยานอย่างดี ปลอดภัย ออกแบบทางจักรยานให้สามารถเชื่อมต่อกันได้  ไม่ใช่มีแค่ตีเส้นแถบสีบนฟุตบาท หรือทางจักรยานสีเขียวริมถนนบางสายกลายเป็นที่จอดรถอย่างในกทม.

ผลที่ตามมาคือ เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีอากาศดีแห่งหนึ่ง ไม่มีปัญหาการจราจรติดขัด สุขภาพจิตของผู้คนก็ดีขึ้น  และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นดินแดนของคนอายุยืน เป็นประเทศที่มีจำนวนคนสูงอายุมากที่สุดในโลก

ในกรุงลอนดอนซึ่งทางการพยายามสร้างแรงจูงใจให้ รถจักรยานเป็นทางเลือกในการคมนาคม เมื่อเร็ว ๆนี้ ได้ออกกฎว่า หากใครจะขับรถยนต์เข้าไปย่านกลางเมือง จะต้องเสียค่าผ่านทางราคาแพง ผลคือทำให้ปริมาณรถยนต์ลดลง และปริมาณรถจักรยานเพิ่มขึ้น

ลองนึกดูว่า หากรถในกรุงเทพมหานครที่มีอยู่เกือบหกล้านคัน หายไปสักสามล้านคัน และเปลี่ยนมาเป็นรถจักรยานแทน การคมนาคมจะคล่องตัวเพียงใด  แต่แน่นอนว่าตอนนั้นคงต้องมีทางจักรยานที่ปลอดภัยและสามารถเชื่อมต่อกันได้

การทำให้จักรยานเป็นทางเลือกสำคัญในการเดินทาง เป็นเทรนด์ใหม่ของประเทศที่เจริญแล้ว เพราะจักรยานได้พิสูจน์แล้วว่า  เป็นทางออกของการแก้ปัญหาหลายอย่างในโลกปัจจุบัน คือการจราจร ลดควันพิษ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ ลดปัญหาโลกร้อน  ลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศจากน้ำมัน และยังได้สุขภาพที่แข็งแรงกลับคืนมา

ผมเชื่อว่าทุกวันนี้มีคนนับล้านคนที่อยากขี่จักรยานในชีวิตประจำวัน เพียงแต่ว่า พวกเขารอทางจักรยานที่ปลอดภัย และรัฐบาลให้ความสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจังจนอาจหยิบเป็นวาระแห่งชาติ

การทำให้จักรยานเป็นทางเลือกสำคัญในการคมนาคม ไม่ต่างจากรถส่วนบุคคล รถเมล์ หรือรถไฟฟ้า อาจจะเป็นนโยบายสำคัญของพรรคการเมืองในอนาคต และน่าจะได้รับเสียงสนับสนุนมาก

อยู่ที่ว่าพรรคการเมืองใดจะมีกึ๋นมากกว่ากัน

 

ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 มกราคม 2552

Categories
Traffic Modeling and Visualisation

Report: Update Bangkok’s Transport Data and Model Centre IV project (TDMC IV) from 2005-2009.

A short report of my work during Thailand’s OTP placement period.  I was assigned to update the TDMC’s model from 2005 to 2009.  The program use was Cube DYNASIM.  This exercise gave me an insight into the traffic model uses by Bangkok city and OTP to base their planning and decision making.

Full report: รายงานการ update ฐานข้อมูลของแบบจำลองระดับจุลภาคของเขคพระนครในโปรแกรม Cube Dynasim_final

Categories
Public Transport

Bucharest Metro System (2011)

(credit:http://centraleasteurope.com)

A short report written by me on the metro system of Bucharest city.  The report is submitted as part of my field visit course in 2011.

<Full report here: BucharestMetrosystem-final>

Categories
เชียงใหม่ - Chiang Mai Sustainable Transport

พัฒนาการของเมืองเชียงใหม่ ปัญหาการจราจร และบทบาทของประชาชน

ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ผมได้ใกล้ชิดกับเมืองเชียงใหม่มากกว่าเคย ผมตัดสินใจซื้อรถจักรยานและพยายามใช้มันในการเดินทางประจำวันแทนรถส่วนตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความเร็วในการเดินทางที่ช้าลง ทำให้ผมสังเกตเห็นและรับรู้ถึงสภาพ, สภาวะ, และการเปลี่ยนแปลงของเมืองเชียงใหม่ได้มากและชัดเจนขึ้น ผมเชื่อว่าคนเชียงใหม่ทุกคนเองก็ต่างรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ จะว่าไปแล้วทุกสิ่งในโลกนี้ก็ล้วนต้องเปลี่ยนแปลงไปทั้งนั้น เราจะสังเกตเห็นหรือไม่เท่านั้นเอง เมืองเชียงใหม่ก็เปลี่ยนแปลงมาตลอดตั้งแต่พ่อขุนเม็งรายสถาปนาเมืองนี้ขึ้นเมื่อเจ็ดร้อยกว่าปีที่แล้ว เมืองนี้ ผ่านทั้งยุคที่รุ่งเรืองที่สุดที่เป็นเมืองหลวงของล้านนา, ล่มสลายที่สุดในยุคที่เป็นเมืองขึ้นของพม่า, และผ่านช่วงแห่งการฟื้นฟูและการพัฒนาจนกระทั่งเป็นอย่างเช่นทุกวันนี้
ในปัจจุบันเชียงใหม่ยังคงความมีเสน่ห์และคุณภาพในด้านต่างๆ ที่ดึงดูดให้คนจากทุกสารทิศมาเยี่ยมเยือนอีกทั้งมาพักอยู่อาศัย ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีศักยภาพในระดับแนวหน้าของประเทศไทย แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้น เมืองเชียงใหม่ก็กำลังถูกรุมล้อมด้วยปัญหาในหลายๆด้าน การจราจรที่ติดขัด,คุณภาพทางอากาศที่แย่ลง,หรือความเสื่อมโทรมทางสังคมต่างก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่เมืองเชียงใหม่เผชิญอยู่ และหากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข ก็คงจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนทําให้สภาพของเมืองเชียงใหม่และคุณภาพชีวิตของคนเชียงใหม่ในอนาคตเสื่อมลงจากที่เป็นอยู่ทุกวันนี้อย่างแน่นอน
หากมองให้ลึกลงไปในปัญหาด้านการจราจรติดขัดที่เมืองเชียงใหม่ประสบอยู่ ก็จะเห็นว่าปัญหานี้เกิดขั้นเพราะระบบคมนาคมของเมืองเชียงใหม่พึ่งพาพาหนะส่วนบุคคลเช่นรถยนต์และมอเตอร์ไซด์ (ระบบขนส่งมวลชนของเมืองไม่มีประสิทธิภาพ) และอัตราการใช้พาหนะส่วนบุคคลที่สูงนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่นการจราจรที่ติดขัด คุณภาพทางอากาศที่แย่ลง อุบัติเหตุทางท้องถนนที่เพิ่มขึ้น ปัญหานี้แม้จะดูซับซ้อน แต่เมืองหลายๆเมืองที่ประสบกับปัญหาคล้ายๆกับเมืองเชียงใหม่ เช่นกรุงเวียนนา,ประเทศออสเตรีย ก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้


ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองกรุงเวียนนามีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด (Wirtschaftswunder) การเจริญเติบโตที่รวดเร็วนี้ก่อให้เกิดปัญหาทางการจราจรในตัวเมืองอย่างมากมาย เทศบาลของกรุงเวียนนาจึงเริ่มแก้ปัญหาการจราจรอย่างจริงจัง โดยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและโครงข่ายทางจักรยานและทางเดินเท้าอย่างสอดคล้องกัน มีการสร้างโครงข่ายระบบรถไฟใต้ดินความยาวกว่า 70กิโลเมตร (โครงข่ายเกือบทั้งหมดนี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา30ปี) ระบบรถรางที่กำลังเสื่อมโทรมได้รับการพัฒนาใหม่ทั้งระบบ (ปัจจุบันกรุงเวียนนามีโครงข่ายรถรางที่หนาแน่นที่สุดเมืองหนึ่งในโลก) มีการสร้างและพัฒนาทางเท้าในจุดต่างๆของเมือง และปิดถนนในหลายๆย่านเพื่อให้เพียงประชาชนเดินเข้าออกได้ (เช่นย่าน Innere Stadt ย่านช้อปปิ้ง ใจกลางกรุงเวียนนา) มีการจัดการที่จอดรถในเขตต่างๆเพื่อใช้พื้นที่ถนนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการสร้างและวางเส้นทางจักรยานเพื่อให้จักรยานเป็นทางเลือกหนึ่งของรูปแบบในการเดินทาง (ปัจจุบันเวียนนามีโครงข่ายทางรถจักรยานกว่า1,170กิโลเมตร หากเทียบกับระยะทางของโครงข่ายของยานยนต์ที่มี 2,800กิโลเมตรแล้ว ทุกๆทางเดินรถสามกิโลเมตรจะมีทางจักรยานหนึ่งกิโลเมตรก็ว่าได้) การพัฒนาและการวางแผนการคมนาคมอย่างมีรูปแบบที่สอดคล้องกันนี้ ทำให้การเดินทางในเวียนนามีความสะดวกสบาย ไม่มีความจำเป็นในการใช้รถส่วนตัว ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางไม่มาก (จนเป็นที่กล่าวกันในหมู่นักเรียนไทยในกรุงเวียนนาว่า อยู่เวียนนาจะไปที่ไหน ก็ใช้เวลาไม่เกิน30นาที) และคงจะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าคุณภาพของการเดินทางที่ดีนี้ มีส่วนทำให้กรุงเวียนนาได้รับเลือกเป็นเมืองที่น่าอยู่และน่าเที่ยวที่สุดในโลกเป็นประจำอยู่ทุกปี

เมื่อมองย้อนกลับมาที่เมืองเชียงใหม่ แม้เราอาจจะไม่สามารถยกเอารูปแบบของการแก้ไขปัญหาการจราจรของกรุงเวียนนามาใช้กับเมืองเชียงใหม่ได้ทั้งหมด เพราะเมืองเชียงใหม่เองก็มีคุณลักษณะทางกายภาพและสังคมที่แตกต่าง สิ่งที่เราสามารถเรียนรู้จากกรุงเวียนนาคือแนวการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่องในเชิงรุก, การมองการจัดการคมนาคมอย่างสอดคล้องและบูรณาการ, และการให้ความสำคัญกับการเดินทางโดยเท้าและจักรยาน เมืองเชียงใหม่สามารถใช้แนวคิดเหล่านี้ เป็นพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการพัฒนาระบบคมนาคมที่จะเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนและเหมาะสมกับเมืองของเราได้ต่อไป
ในภาพรวมแล้ว ปัญหาการจราจรและปัญหาอื่นๆที่คุกคามคุณภาพชีวิตของคนเชียงใหม่ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่ได้เกิดมาจากปัจจัยภายนอกหรือจากการคุกคามโดยสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่นอุทกภัยทางธรรมชาติหรือการรุกรานใดๆ ปัญหาเหล่านี้ล้วนถูกสร้างขึ้นมาโดยคนเชียงใหม่เองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมืองเชียงใหม่ทั้งนั้น ด้วยเหตุฉะนี้แล้วเราซึ่งเป็นคนเชียงใหม่ก็น่าจะมีความสามารถที่จะจัดการปัญหาเหล่านี้ได้เองไม่ใช่หรือ? ผู้เขียนเชื่อว่าพวกเราเองก็ต้องการให้เมืองเชียงใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความน่าอยู่ มีความยั่งยืน และเป็นเมืองที่เราและลูกหลานของเราสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ หากสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่พวกเราต้องการ พวกเราชาวเชียงใหม่คงจะต้องแสดงออกถึงความต้องการเหล่านี้ให้ภาครัฐและผู้บริหารบ้านเมืองให้รับรู้ แสดงถึงความต้องการมีส่วนร่วมและร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นอย่างที่เราต้องการ หากพวกเราเพิกเฉยแล้วก็คงจะเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่เราอาจจะต้องเห็นเมืองเชียงใหม่เปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง เพราะพวกเราเลือกที่จะนิ่งดูดายปล่อยให้เมืองนี้ถูกพัฒนาโดยผู้อื่นไปในทิศทางซึ่งสวนทางกับความต้องการของพวกเรา จนเมืองนี้ไม่มีความน่าอยู่อีกต่อไป

พีระพันธ์ จิตราภิรมย์

Categories
Resource

Writing tip: Common confused words

see http://homepage.smc.edu/reading_lab/words_commonly_confused.htm
🙂
Compare with or compare to?

Categories
Traffic Engineering

Walt Disney’s Vision of transport in the future 1958

A classic piece of Auto-properganda. Eye-sored for sustainable transport planner!